วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

อาหารพื้นบ้านภาคกลาง

        อาหารพื้นบ้านภาคกลางเป็นอาหารที่มีลักษณะผสมผสานกันหลายรส มีทั้งรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว หวาน จืด และมักมีเครื่องเทศ กะทิ เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยเสมอ อาหารที่ชาวต่างชาติ ส่วนใหญ่รู้จักและนิยมรับประทานมักเป็นอาหารภาคกลาง ซึ่งผ่านการดัดแปลงส่วนประกอบและ รสชาติแล้ว ตัวอย่างอาหารที่คนภาคกลางนิยมรับประทาน เช่น เมี่ยงคำ แกงเลียง แกงส้มดอกแค ยำถั่วพู สะเดาน้ำปลาหวาน ปลาดุกย่าง แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย ห่อหมกปลา เป็นต้น

    1) เมี่ยงคำ เป็นอาหารว่างที่นิยมรับประทานช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงชะพลู ออกใบและยอดอ่อนมากที่สุดและรสชาติดี 
อ้างอิงจากเว็บhealthcarethai

     2) แกงเลียง เป็นอาหารยอดนิยมของชาวภาคกลาง ประกอบด้วยพืชผัก หลากหลายส่วนมากมักนำพืชผักที่มีรสเย็นจืดมาเป็นส่วนผสมในแกงเลียง 
อ้างอิงจากเว็บhealthcarethai

       3) ยำถั่วพู เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบหลักคือ ถั่วพู ซึ่งเป็นผักที่มีรสมัน บำรุงเส้นเอ็น มีแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญในปริมาณสูง ได้แก่ ธาตุแคลเซียม เหล็ก และวิตามินซี

 อ้างอิงจากเว็บhealthcarethai

      4) สะเดา น้ำปลาหวาน ปลาดุกย่าง สะเดาเป็นผักพื้นบ้านที่มีรสขม คนไทย มักนำช่อดอกของสะเดามารับประทานในช่วงฤดูหนาว 
 อ้างอิงจากเว็บhealthcarethai

       5) แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย แกงเขียวหวานเป็นเอกลักษณ์ของอาหารภาคกลางที่ปรุงแต่งด้วยกะทิที่เข้มข้นจริงๆ แกงเขียวหวานมีหลายชนิด ขึ้นกับชนิดของเนื้อสัตว์ ที่ใช้ เช่น แกงเขียวหวานไก่ แกงเขียวหวานหมู แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย 

อ้างอิงจากเว็บhealthcarethai





อาหารภาคเหนือ 

        อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของคนภาคเหนือไม่ว่าจะเป็นข้างเหนียวซึ่งเป็นอาหารหลัก น้ำพริกอ่อง ซึ่งดูจะไม่เผ็ดมากนัก ตลอดจนกรรมวิธีถนอมอาหารอันแยบยล ที่ออกมาในรูปแบบของ แหนม หมูยอ แคบหมู และที่เป็นพิเศษจริงๆคือ อาหารจำพวกของสด เช่น ลาบสด  นอกจากนั้นแนวทางการรับประทานอาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือยังออกมาในรูปแบบ ของขันโตก ซึ่งประกกอบด้วยอาหารหลายๆอย่างในหนึ่งสำรับ เช่น น้ำพริกอ่อง แคบหมู แกง ฮังเล ลาบ ข้าวเหนียว ไก่ชิ้นทอด โดยเฉพาะมีการประยุกต์อาหารขันโต
         
ตัวอย่างอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของคนภาคเหนือ

      น้ำพริกอ่อง
          น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้

วิธีทำน้ำพริกอ่อง


ส่วนผสม
1.         เนื้อหมูบด        400      กรัม
2.         มะเขือเทศลูกเล็ก         20        ลูก
3.         ผักชีซอย          1          ช้อนโต๊ะ
4.         ต้นหอมซอย    1          ช้อนโต๊ะ
5.         น้ำมันพืช         2          ช้อนโต๊ะ
   
เครื่องแกง
1.         พริกขี้หนูแห้ง  20        เม็ด
2.         หอมแดง          5          หัว
3.         กระเทียม         10        กลีบ
4.         กะปิ     1          ช้อนโต๊ะ
5.         เกลือ    1/2       ช้อนชา

 ขั้นตอนการทำ
1.         โขลกพริก หอมแดง กระเทียม รวมกันให้ละเอียด



อ้างอิงจากเว็บlibrary

 2.         ใส่กะปิและเกลือ โขลกให้เข้ากัน
อ้างอิงจากเว็บlibrary

 3.         ผัดเครื่องแกงกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม ใส่เนื้อหมูบด ลงผัดให้สุก เติมน้ำเล็กน้อย
อ้างอิงจากเว็บlibrary

 4.         พอเดือด ใส่มะเขือเทศ ลงผัดให้เข้ากัน ตั้งไฟต่อจนมะเขือเทศสุก ปิดไฟ



 อ้างอิงจากเว็บlibrary