วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555


ส้มตำอีสาน

         ส้มตำเป็นอาหารคาวของไทยทางภาคอีสาน  ทำมาจากการนำมะละกอดิบที่ขูดเป็นเส้น มาตำในครกกับ มะเขือเทศลูกเล็ก ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง พริก และกระเทียม ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา ปูดองหรือปลาร้า ให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด และออกเค็มเล็กน้อย นิยมกินกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง โดยมีผักสด เช่น กะหล่ำปลี หรือถั่วฝักยาวผักบุ้ง เป็นเครื่องเคียง

ส้มตำมีการประยุกต์จากส้มตำปกติมาเป็นส้มตำในแบบของท้องถิ่นหรือตามชอบ คือ
1. ส้มตำไทย ไม่ใส่ปูและปลาร้า แต่ใส่กุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่วแทน รสชาติ  
ออกหวานและเปรี้ยวนำ บางถิ่นอาจใส่ปูดองเค็มด้วย เรียกว่า ส้มตำไทยใส่ปู
     2.  ส้มตำปู ใส่ปูเค็มแทนกุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่ว รสชาติออกเค็มนำ


     3.  ส้มตำปลาร้า ใส่ปลาร้าแทนกุ้งแห้ง นิยมรับประทานกันมากในภาค

อีสาน


     4. ตำซั่ว ใส่ทั้งเส้นขนมจีนและเส้นมะละกอ นิยมรับประทานกันมากในภาค

อีสาน

     5. ตำป่า ใส่ผักหลายชนิด เช่น ผักกระเฉด ผักกาดดอง ปลากรอบ ถั่วลิสง 

ถั่วงอก ถั่วฝักยาว รวมถึงหอยแมลงภู่ จะนิยมรับประทานในภาคอีสาน


    6. ตำโคราช ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและส้มตำปลาร้า คือใส่ทั้ง


กุ้งและปลาร้า


ตัวอย่างส้มตำชนิดต่า
 สัมตำไทย

อ้างอิงจากเว็บgotoknow

ส้มตำปู  

อ้างอิงจากเว็บgotoknow


ส้มตำปูปลาร้า

อ้างอิงจากเว็บgotoknow


ตำซั่ว เขาใส่ขนมจีน และเม็ดกฐินด้วย

อ้างอิงจากเว็บgotoknow

   วิธีทำส้มตำ





อาหารขึ้นชื่อทางภาคใต้
ข้าวยำ

อ้างอิงจากเว็บoknation.net 
ข้าวยำ
           ข้าวยำ มาจากคำว่า "นาซิกาบู" เป็นภาษามาลายูท้องถิ่น "นาชิ" แปลว่า ข้าว "กาบู" แปลว่า ยำ
ข้าวยำประกอบด้วยข้าวสุกราดด้วยน้ำบูดู (หรือน้ำเคย) มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น และผักสดหลายชนิดหั่นรวมกันลงไป แล้วคลุกเคล้ากัน ผักบางชนิดที่ใส่มีเฉพาะในภาคใต้เท่านั้น เช่น ใบกระผังโหม  ใบหมุย ข้าวยำ เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีผักสมุนไพรเป็นส่วนประกอบมากมาย เช่น ตะไคร้  ใบมะกรูด  ใบชะพลู  ใบยอ ใบขมิ้น ใบบัวบก ดอกดาหลา ถั่วฝักยาว ถั่วงอก นอกจากนี้ ยังมี มะนาว ส้มโอ มะม่วงเปรี้ยว ตะลิงปลิง หรือผักชนิดต่าง ๆ ที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป
 วิธีทำข้าวยำ
 เครื่องปรุง 
ข้าวสวย 1 ถ้วย
กุ้งแห้งป่น 1 ถ้วย
มะพร้าวหั่นฝอยคั่วจนเหลืองกรอบ 1 ถ้วย
พริกขี้หนูคั่วป่น 2 ช้อนชา
ผัก 
ถั่วงอกเด็ดหาง 1 ถ้วย
ตะไคร้หั่นฝอย3 ต้น
ใบมะกรูดหั่นฝอย ครึ่ง ถ้วย
มะม่วงดิบสับหั่นเส้นเล็ก3/4 ถ้วย
ถั่วฝักยาวหั่นฝอย 1 ถ้วย
มะนาว 1 ลูก
เครื่องปรุงน้ำบูดู
น้ำบูดู 1/2 ถ้วย
น้ำ 1 ครึ่ง ถ้วย
ปลาอินทรีย์เค็ม 1 ชิ้น
น้ำตาลปีบ 1 ถ้วย
หอมแดงบุบพอแตก 1 ครึ่ง ถ้วย
ตะไคร้หั่นท่อนสั้น 1 ต้น
ใบมะกรูดฉีก 3 ใบ
ข่ายาว 1 นิ้ว บุบพอแตก 1 ชิ้น
 วิธีทำ
1.ทำน้ำบูดู โดยการต้มปลาอินทรีจนเปื่อย แกะเอาแต่เนื้อใส่หม้อ เติมน้ำบูดู น้ำ แล้วตั้งไฟ
2.ใส่หอม ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูดฉีก น้ำตาลปีบ ต้มต่อจนน้ำบูดูข้น ชิมให้มีรสเค็มนำ หวานตาม ยกลง
3.จัดเสิร์ฟโดย ตักข้าวใส่จาน ใส่มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น และผักทั้งหมด ใส่อย่างละน้อย พอคลุกรวมกันแล้วจะมากยิ่งขึ้น ราดน้ำบุดู ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว เคล้าให้เข้ากันดี รับประทานได้


                       รวมอาหารไทย 4ภาค 
          
 อาหารไทย สิ่งหนึ่งที่สามารถบ่งบอกความเป็นไทยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผสมผสานกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาวไทย ถ่ายทอดออกมาเป็นอาหารที่มีรสชาติความอร่อยมีคุณค่าทางอาหารและโภชนาการ ทำให้อาหารไทย  ความหลากหลายของอาหารในแต่ละภาคก็จะมีเสน่ห์ และมี รสชาติแตกต่างกันไป ขึ้นกับความนิยมชมชอบของผู้รับประทาน แต่ที่สามารถรับรองได้ คือ ความอร่อยของอาหาร 
     อาหารไทยภาคเหนือ          
       อาหารของภาคเหนือประกอบด้วยข้าวเหนียว 
น้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้นว่า น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกแดง  น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงฮังเล แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีอาหารพื้นเมือง เช่น แหนม ไส้อั่ว เนื้อนึ่ง จิ้นปิ้ง แคบหมู หมูทอด ไก่ทอดและผักต่างๆ คนภาคเหนือนิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก หรือแทบไม่นิยมเลย เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ เนื้อหมู เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่แพง และมีขายทั่วไปในท้องตลาดเนื้อสัตว์อื่นที่นิยมรองลงมาคือ เนื้อวัว ไก่ เป็ด นก ฯลฯ สำหรับอาหารทะเลนิยมน้อยเพราะราคาแพง เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล 

    ตัวอย่าง อาหารจากภาคเหนือ
ไส้อั่ว
  อ้างอิงจากเว็บthaicyberu
น้ำพริกหนุ่ม
อ้างอิงจากเว็บthaicyberu
แคบหมู
อ้างอิงจากเว็บthaicyberu
แกงแค
อ้างอิงจากเว็บthaicyberu
อาหารไทยภาคกลาง 
         
คนภาคกลางรับประทานอาหารที่มีรสกลมกล่อม มีรสหวานนำเล็กน้อย วิธีการปรุงอาหารซับซ้อนขึ้นด้วยการนำมาเสริมแต่ง หรือประดิดประดอยให้สวยงาม   ทุกบ้านจะรับประทานข้าวสวยเป็นหลัก และรับประทานกับกับข้าว เช่น อาหารเย็นมีกับข้าว 3-5 อย่าง ได้แก่ แกงจืดหรือแกงส้มหรือแกงเผ็ด เช่น พะแนง มัสมั่นแห้ง ไก่ผัดพริก หรือยำ เช่น ยำถั่วพู ยำเนื้อย่าง อาหารประจำของคนไทยภาคกลางคือ ผัก น้ำพริก และปลาทู อาจจะมีไข่เจียว เนื้อทอด หรือหมูย่างอีกจานหนึ่งก็ได้ โดยคำนึงถึงวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นหลัก 

     
    ตัวอย่าง อาหารจากภาคกลาง


แกงมัสมั่นไก่
 อ้างอิงจากเว็บthaicyberu 
แกงเผ็ด

อ้างอิงจากเว็บthaicyberu
    อาหารไทย ภาคอีสาน         
           อาหารจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ รับประทานกับลาบไก่ หมู เนื้อ หรือ ลาบเลือด ส้มตำ ปลาย่าง ไก่ย่าง จิ้มแจ่ว ปลาร้า อาหารภาคนี้จะนิยมปิ้ง หรือย่างมากกว่าทอดอาหารทุกชนิดต้องรสจัด เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่ชาวบ้านหามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ งู หนูนา มดแดง แมลงบางชนิด ส่วนเนื้อหมู วัว ไก่ และเนื้อสัตว์อื่น ๆ ก็นิยมตามความชอบ และฐานะ สำหรับอาหารทะเลใช้ปรุงอาหารน้อยที่สุด เพราะนอกจากจะหายากแล้วยังมีราคาแพงอีกด้วย
    
ตัวอย่าง อาหารจากภาคอีสาน
ส้มตำ
 อ้างอิงจากเว็บtaksilanakhon
ซุบหน่อไม้
  อ้างอิงจากเว็บtaksilanakhon
ตำถั่ว
 อ้างอิงจากเว็บtaksilanakhon 
ต้มปลา
  อ้างอิงจากเว็บtaksilanakhon
ลาบน้ำตก
 อ้างอิงจากเว็บtaksilanakhon

 อาหารไทยภาคใต้ 
          อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้ม ก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลา หอยนางรม และกุ้งมังกรเป็นต้น

   ตัวอย่าง อาหารจากภาคใต้


อ้างอิงจากเว็บsara108


อ้างอิงจากเว็บsara108

อ้างอิงจากเว็บsara108